ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการสืบทอดจากสมัยอยุธยา ลักษณะศิลปวัฒนธรรมยังไม่มีสิ่งใดโดดเด่น เพราะบ้านเมืองยังไม่มั่นคงนักประกอบกับกรุงธนบุรีเป็นราชธานีเพียงไม่กี่ปีก็เปลี่ยนเป็นกรุงรัตนโกสินทร์
สภาพสังคมเป็นสังคมศักดินา เนื่องจากความต้องการกำลังคนหรือแรงงานเพราะแรงงานมีความสำคัญต่อความมั่นคงของอาณาจักร รัฐจึงต้องมีกำหนดกฎเกณฑ์ของสังคมเพื่อควบคุมแรงงานและกำลังคน อันเป็นผลให้เกิดสังคมศักดินาซึ่งเข้มแข็งมากในสมัยอยุธยา
สังคมศักดินา หมายถึง ระบบสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่และฐานะของแต่ละบุคคลในสังคม จุดประสงค์ก็เพื่อควบคุมกำลังคนและแบ่งฐานะของบุคคลเป็นสำคัญ ผู้ควบคุมกำลังคนสูงสุดคือ พระมหากษัตริย์ รองลงมาได้แก่ ขุนนาง (ข้าราชการ) และผู้ถูกควบคุมคือ สามัญชนหรือไพร่ ระบบศักดินาได้รับการจัดระเบียบในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีการตราพระราชกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับศักดินาขึ้นใน พ.ศ. 1998 เรียกว่า “พระไอยการตำแหน่งนายพลเรือนและนายทหารหัวเมือง”
- ชนชั้นปกครอง
- ชนชั้นใต้ปกครอง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น